โลกดิจิตอลกับการใช้สายตา
ดูเหมือนความพยายามในการใช้กระดาษถนอมสายตาของคุณจะไม่ได้ผลเสียแล้ว เพราะในขณะเดียวกันคุณก็ยังคงนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ที่น่าเป็นห่วงไปกว่านั้น โทรศัพท์มือถือและอุปการณ์เทคโนโลยีที่ฉลาดขึ้นยังเป็นตัวแปรทำให้คุณอยากที่จะใช้ประโยชน์จากพวกมันเพิ่มขึ้นและนั่นหมายความว่าคุณจะมีเวลาอยู่กับหน้าจอที่มีแสงจ้านานขึ้น จนเราและหลายคนสงสัยกันว่า อาการติดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในชีวิตประจำวัน จะส่งผลเสียกับเราอย่างไร ซึ่งเราได้นำคำถามนี้ไปปรึกษา พ.ญ.อภิรดี ปรีชานนท์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดวงตามาให้คุณ
ถาม : ผู้ชายที่คลั่งไคล์ (และคลั่งไคล้) โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ประเภทแท็บเล็ตจนเป็นนิสัย จากทั้งการเพ่งมองจอขนาดเล็กและแสงจ้าจะส่งผลต่อสายตาอย่างไรบ้าง
ตอบ : อุปกรณ์ทัชแพดและสมาร์ทโฟนมีขนาดเล็กกว่าจอคอมพิวเตอร์ ตัวหนังสือหรือภาพในอุปกรณ์ก็มีขนาดเล็ก ทำให้ต้องจ้องมองใกล้เพื่อให้เห็นชัด ทำให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อปรับภาพให้ชัดเจน จะทำให้ตาล้าได้ง่าย หากทำได้ควรปรับขนาดตัวหนังสือให้ใหญ่ขึ้นเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของกล้ามเนื้อตา ส่วนความเข้มของแสงที่ใช้ที่หน้าจอ และแสงที่ช่วยในการทำงานต้องมีระดับเหมาะสม ไม่สว่างจ้าจนระคายตา หรือสลัวจนมองไม่ชัด
ทิศทางของแสงสว่างแวดล้อมก็มีความสำคัญ หากผู้ทำงานถนัดขวา แสงควรส่องมาจากทางซ้ายมือ หลีกเลี่ยงแสงในมุมที่ตกกระทบหน้าจอแล้วสะท้อนเข้าตา เพราะจะทำให้สบายตา ตาพร่าได้ ระยะห่างของสิ่งที่ดูควรห่างจากตาประมาณ 35 เซนติเมตร การใช้งานสายตามากๆ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือโรคใดๆ ไม่ทำให้สายตาแย่ลง เพียงแค่ทำให้ไม่สบายตาจนอาจทำให้หงุดหงิด ประสิทธิภาพการทำงานลดล
อาการตาล้าเป็นอย่างไร
ตามีกล้ามเนื้อตาซึ่งใช้ในการกลอกตาและจ้องมอง การใช้สายตาเป็นเวลานานๆ กล้ามเนื้อตาต้องทำงานก็จะมีอาการเมื่อยล้าได้ อาการตาล้า เช่น ปวดกระบอกตา อาจมีอาการตึงไปขมับ ตึงไปท้ายทอย หากยังคงฝืนใช้ตาต่อไปโดยไม่พักอาจรู้สึกคลื่นไส้ได้ เราสามารถใช้งานสายตาได้ แต่ควรพักเป็นระยะทุกๆ 30 นาที
ที่มา : http://men.mthai.com/health-firm/5498.html
หมวด >> men >> health&firm
หมวด >> men >> health&firm
พญ.อภิรดี ปรีชานนท์ (Apiradi Prechanond M.D.)
จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตา ศูนย์เลสิคและรักษาสายตารัตนิน-กิมเบล และโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน
จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตา ศูนย์เลสิคและรักษาสายตารัตนิน-กิมเบล และโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน
![]() |
พญ.อภิรดี ปรีชานนท์ (Apiradi Prechanond M.D.) จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตา ศูนย์เลสิคและรักษาสายตารัตนิน-กิมเบล และโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น